โค้งสุดท้ายของปี 2567 ใครที่กำลังมองหาตัวช่วยในการลดหย่อนภาษี การซื้อประกันชีวิตถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่คุ้มค่าจากการได้รับความคุ้มครองทั้งชีวิต ช่วยวางแผนการเงินที่ดี และยังสามารถสร้างเงินก้อนพร้อมใช้ในอนาคตไปพร้อม ๆ กัน แบบประกันที่ว่านั้นเรียกว่า “ประกันสะสมทรัพย์” หรือ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment) ซึ่งในระหว่างระยะเวลาสัญญาผู้ทำประกันจะได้รับความคุ้มครองชีวิตควบคู่กับได้รับผลประโยชน์เงินคืนในแต่ละปีซึ่งจะเป็นไปตามเงื่อนไขของแต่ละแบบประกันตามที่บริษัทกำหนด รวมถึงเมื่อครบกำหนดสัญญา ก็จะได้รับผลประโยชน์เงินคืนก้อนใหญ่ช่วยสร้างความมั่นคงสำหรับชีวิตในอนาคตได้อย่างสบายใจ และหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่างกรณีเสียชีวิต ครอบครัวหรือผู้รับผลประโยชน์จะได้รับเงินก้อนคืนเพื่อเป็นหลักประกันทางการเงินที่มั่นคงอีกด้วย 5 เหตุผลดีๆ ของการทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ 1 สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนเบี้ยฯ ที่จ่ายจริง สูงสุด 100,000 บาทต่อปี ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด โดยเงื่อนไขคือ กรมธรรม์ประกันชีวิตต้องมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป กรณีที่มีการจ่ายเงินคืนทุกปี จำนวนเงินต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยรายปี หรือหากเป็นการจ่ายเงินคืนตามช่วงเวลา จำนวนเงินต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยสะสมของแต่ละช่วงเวลา ช่วยสร้างเงินออมเพื่ออนาคต วางแผนทางการเงินได้ ประกันสะสมทรัพย์แต่ละแผน จะมีรูปแบบในการชำระเบี้ยในระยะเวลาแตกต่างกันออกไป เช่น 1 ปี จ่ายครั้งเดียวจบ จ่ายเบี้ยฯสั้น 2 ปี หรือ 5 ปี โดยผู้เอาประกันภัยจะได้รับผลประโยชน์เงินคืนในรูปแบบที่แตกต่างออกไปตามแต่ละแผนปี ซึ่งรูปแบบนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการจะนำเงินออกมาใช้ก่อนถึงครบกำหนด เป็นตัวช่วยสร้างวินัยการออมเงินและวางแผนทางการเงินในอนาคตได้อย่างแน่นอน ได้รับผลตอบแทนที่แน่นอน ประกันสะสมทรัพย์เป็นประกันชีวิตในรูปแบบการสร้างเงินออมที่มีความเสี่ยงต่ำ โดยแต่ละแบบประกันจะมีแผนความคุ้มครองและรูปแบบผลประโยชน์เงินคืนที่กำหนดเอาไว้ ทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับผลตอบแทนที่แน่นอน ไม่ต้องรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจ ช่วยให้สามารถวางแผนทางการเงินในอนาคตได้อย่างแม่นยำ รู้ผลประโยชน์เงินคืนที่ได้รับแน่นอนและสร้างเงินออมให้งอกเงยได้ ได้รับความคุ้มครองชีวิต ช่วยให้ผู้ทำประกันเตรียมพร้อมกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น กรณีเสียชีวิต จะได้รับเงินก้อนคืนตามทุนประกันชีวิตโดยมอบให้ผู้รับผลประโยชน์ รวมถึงสามารถกำหนดสัดส่วนของผลประโยชน์เงินคืนนี้ได้อีกด้วย เหมาะกับผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัว ในการเตรียมพร้อมกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้น หรือในมุมของพ่อแม่สูงวัย ที่ต้องการสร้างความมั่นคงและลดภาระค่าใช้จ่ายกรณีที่ตนเองเสียชีวิตให้กับลูกหลานที่ยังอยู่ได้อีกด้วย เนื่องจากประกันสะสมทรัพย์บางแผน มีอายุรับประกันภัยสูงถึงอายุ 80 ปี ผลประโยชน์เงินคืนได้จากประกันสะสมทรัพย์ได้รับการยกเว้นภาษี เป็นอีกหนึ่งข้อดีที่น่าสนใจ เนื่องจากผลประโยชน์เงินคืนที่ได้รับจะได้รับแบบเต็มจำนวน ต่างจากผลประโยชน์เงินคืนจากการสร้างเงินออมรูปแบบอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น การลงทุนกับหุ้น กองทุนรวม หรือแม้แต่ดอกเบี้ยที่ได้รับจากการฝากเงินกับธนาคารที่ยังต้องเสียภาษี ประกันสะสมทรัพย์ออนไลน์ ง่าย สะดวก อนุมัติไว กรุงเทพประกันชีวิต มีบริการประกันชีวิตออนไลน์ที่มีหลากหลายแผนเพื่อให้ผู้ทำประกันสามารถเลือกได้ตรงกับเป้าหมายทางการเงินได้มากที่สุด สามารถดูรายละเอียดความคุ้มครอง กดคำนวณเบี้ย เพื่อเปรียบเทียบผลประโยชน์ด้วยตัวเองได้ โดยปัจจุบันมีแบบประกันที่น่าสนใจ คือ…
Author: staff
บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด(มหาชน) (“FWD ประกันชีวิต”) คัดสรรผลิตภัณฑ์เด่นสำหรับลดหย่อนภาษีโดยเฉพาะ ให้ลูกค้าเลือกซื้อแผนประกันที่ตรงตามความต้องการได้บนช่องทาง e-commerce ทั้งแบบประกันสะสมทรัพย์ และแบบประกันบำนาญ รับสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีสูงสุด 300,000 บาท แบบเต็มแมกซ์ ตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด พร้อมโปรโมชั่นพิเศษส่งท้ายปี รับส่วนลดค่าเบี้ยฯ สูงสุด 7% หรือรับของรางวัลเมื่อสมัครและชำระเบี้ยฯ พร้อมผ่อนเบี้ยฯ 0% นานสูงสุด 10 เดือน ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม นี้ ด้วยหลักการทำงานที่ยึดความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก (Customer-led) ของ FWD ประกันชีวิต จึงได้รวบรวม ข้อมูลบทความให้ความรู้เกี่ยวกับการซื้อประกันลดหย่อนภาษี พร้อมเครื่องมือช่วยคำนวณภาษี ในที่เดียว พร้อมนำเสนอแผนประกันเพื่อลดหย่อนภาษีประจำปี 2567 เพื่อให้ลูกค้าสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเลือกซื้อแบบประกันที่เหมาะสม ตรงกับความต้องการได้ด้วยตัวเองทางออนไลน์ ที่สะดวก รวดเร็ว และสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านเว็บไซต์แคมเปญ https://www.fwd.co.th/th/tax-deduction-insurance ในปีนี้ FWD ประกันชีวิต เสนอ 3 แผนประกันออนไลน์ยอดนิยม ที่ลูกค้าสามารถรับสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษี สูงสุดถึง 300,000 บาท ตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด ดังนี้ แบบประกันสะสมทรัพย์ Easy E-Save 10/5 – เป็นประกันสะสมทรัพย์ออนไลน์ยอดขายอันดับ 1 ต่อเนื่อง 5 ปีซ้อน* ที่ให้ผลตอบแทนคุ้ม โดยจ่ายเบี้ยฯ เพียง 5 ปี คุ้มครองถึง 10 ปี ผลตอบแทนแน่นอน การันตีรับเงินคืนทุกปีสูงสุดถึง 5% ต่อปี และรับผลตอบแทนรวม 390% ของทุนประกันภัย และยังสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท ตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://www.fwd.co.th/th/savings-insurance/easy-e-save/ แบบประกันสะสมทรัพย์ Speed Saving 12/3…
กรุงเทพฯ, 28 พฤศจิกายน 2567 – ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี จับมือพันธมิตร พรูเด็นเชียล ประเทศไทย หนึ่งในผู้นำด้านประกันชีวิต ส่งมอบความคุ้มค่าส่งท้ายปีกับแคมเปญ “เซฟภาษี แบบคุ้มเวอร์ที่ ทีทีบี” กับประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ทีทีบี อี แท็กซ์ เซฟเวอร์ 10/4 อีกทางเลือกสำหรับลูกค้าที่มองหาผลิตภัณฑ์เพื่อลดหย่อนภาษี จ่ายค่าเบี้ยฯ สั้น 4 ปี คุ้มครองยาว 10 ปี รับเงินคืนทุกปี ปีละ 4% ของทุนประกันภัย ตั้งแต่สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 1-9 และเมื่อครบสัญญาปีที่ 10 รับเงินก้อนโตอีก 404% ของเงินทุนประกันภัย รวมผลประโยชน์ทั้งหมดตลอดสัญญา 440% ของเงินทุนประกันภัย พร้อมโปรโมชันสุดพิเศษแบบจัดเต็ม นางสาวกนกวรรณ เพชรพิสิฐโชติ ประธานกลุ่ม บริหารผลิตภัณฑ์ธุรกรรมธนาคาร และความมั่งคั่งทางการเงิน ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยว่า “ธนาคารและพันธมิตร พรูเด็นเชียล ประเทศไทย มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าในยุคดิจิทัล ด้วยผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ทีทีบี อี แท็กซ์ เซฟเวอร์ 10/4 เหมาะกับคนที่ตั้งเป้าออมเงินง่าย ๆ เพียง 1,800 บาทต่อเดือน ได้เงินคืนชัวร์ ๆ ทุกปี เป็นการฝึกวินัยการออมอีกทั้งยังสร้างเงินก้อนพร้อมใช้ในอนาคต สมัครง่ายได้ด้วยตนเอง ผ่านแอป ttb touch โดยในช่วงปลายปีนี้ ได้จัดแคมเปญพิเศษ “เซฟภาษี แบบคุ้มเวอร์ที่ ทีทีบี” เป็นการส่งมอบความคุ้มค่า ทั้งด้านการออม ผลประโยชน์ทางภาษี และความคุ้มครองชีวิต ซึ่งมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ในแคมเปญนี้จะสามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างตรงใจ และเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นทั้งวันนี้และอนาคต” นายดอน จรรย์ศุภรินทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการพาณิชย์ พรูเด็นเชียล ประเทศไทย เปิดเผยว่า พรูเด็นเชียลฯ ร่วมกับ ทีทีบี เดินหน้าออกแบบผลิตภัณฑ์ประกันที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างครอบคลุมและหลากหลาย ผ่านผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ทีทีบี อี แท็กซ์…
ธนาคารกรุงเทพเชิญกูรูด้านเศรษฐกิจ-ธุรกิจอินเดีย ร่วมวงสัมมนา “เป้าหมายถัดไป: อินเดีย” หวังจุดประกายผู้ประกอบการไทยเตรียมความพร้อมรับมือโอกาสใหม่ในตลาดอินเดีย เผยเคล็ดลับเข้าสู่ตลาดอย่างมั่นใจ ต้องวางแผนรอบคอบ มีพันธมิตรที่ไว้ใจได้ในพื้นที่ เข้าใจระบบท้องถิ่น พร้อมศึกษากฎหมาย-ภาษีให้แม่นยำ เชื่อโอกาสตลาดยังเปิดกว้าง ย้ำจุดยืน ‘ธนาคารชั้นนำระดับภูมิภาค’ ที่พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการ เปิดประตูการค้าสู่แดนภารตะอย่างแข็งแกร่ง นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่และเลขานุการบริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ เกี่ยวกับเศรษฐกิจและการลงทุนในประเทศอินเดีย เข้าร่วมการสัมมนาในหัวข้อ “เป้าหมายถัดไป: อินเดีย” เพื่อร่วมกันชี้ให้เห็นถึงความน่าสนใจเกี่ยวกับโอกาสการลงทุนในประเทศอินเดีย ซึ่งนับเป็นตลาดที่จะกลายเป็นโอกาสอย่างมหาศาลในอนาคต เวลานี้จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ผู้ประกอบการไทยควรเริ่มกำหนดกลยุทธ์และมองการณ์ไกลตั้งแต่วันนี้ เพื่อใช้โอกาสที่มีอย่างเต็มที่ “อินเดียในปัจจุบัน เปรียบเหมือนจีนเมื่อสิบปีก่อน ซึ่งในช่วงเวลานั้นมีเพียงไม่กี่คนที่มองเห็นศักยภาพของเศรษฐกิจจีน ในวันนั้นผู้ที่เริ่มต้นปรับตัวและเข้าถึงตลาดได้ก่อน วันนี้จึงกลายเป็นผู้ได้รับประโยชน์อย่างมหาศาล อินเดียเวลานี้จึงเปรียบเสมือนโอกาสที่รอคอยให้ผู้ประกอบการไทยเข้ามาทำธุรกิจ ซึ่งต้องทำความเข้าใจกับผู้คน วัฒนธรรมและกฎหมาย อย่ารีบร้อน เพราะต้องใช้ทั้งความอดทนและเวลา ผมเชื่อว่าอีก 10-20 ปีข้างหน้า อินเดียจะสร้างความมั่งคั่งได้อย่างมหาศาลด้วยชนชั้นกลางที่กำลังเติบโต และจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งส่งให้เกิดการใช้จ่ายเพิ่มเติมอย่างมหาศาลตามมา” นายกอบศักดิ์ กล่าว เขากล่าวอีกว่า ธนาคารกรุงเทพเอง ในฐานะ “เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน” ของภาคธุรกิจ พร้อมที่จะสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในเรื่องของสินเชื่อ รวมทั้งความเป็น “ธนาคารชั้นนำระดับภูมิภาค” ก็สามารถช่วยค้ำประกันเพื่อการส่งออก เพื่อการันตีความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าให้เข้าไปทำธุรกิจได้อย่างราบรื่นและคิดว่าเวลานี้เป็นจังหวะที่ดีในการเข้าไปทำธุรกิจในอินเดียแล้ว ทั้งนี้ ประโยชน์การทำธุรกิจร่วมกับอินเดียไม่เพียงแต่การเข้าไปลงทุน หรือ ส่งออกไปอินเดียเท่านั้น แต่ไทยจะกลายเป็นการเปิดประตูสู่อาเซียนนำการลงทุนและนักท่องเที่ยวอินเดียมาสู่ไทยได้ด้วยจากปัจจุบันที่มีนักท่องเที่ยวอินเดียมาไทย ราว 2 ล้านคนก็อาจจะเพิ่มเป็น 20 ล้านคนได้ในอนาคต นายอาลก โลเฮีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส หนึ่งในวิทยากรได้แชร์ประสบการณ์ส่วนตัวเกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสในการดำเนินธุรกิจในตลาดใหม่ ว่าการลงทุนครั้งแรกของ Indorama ในประเทศไทยช่วงปลายทศวรรษ 1980 เริ่มต้นด้วยรายได้เพียง 5 ล้านดอลลาร์ ก่อนที่จะเติบโตเป็นรายได้กว่า 15 พันล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน การตัดสินใจครั้งนั้นมาพร้อมกับความท้าทาย เช่น การต้องปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมและข้อจำกัดด้านภาษา เช่นเดียวกับการเข้าสู่ตลาดใหม่อย่างอินเดีย ซึ่งความซับซ้อนต้องวางแผนอย่างรอบคอบ ผู้ประกอบการวางแผนระยะยาวเพื่อรับมือกับความซับซ้อนของตลาดอินเดีย การสร้างความสัมพันธ์และเครือข่ายที่เชื่อถือได้ในพื้นที่เป็นกุญแจสำคัญ ไม่เพียงแต่จะช่วยลดความซับซ้อน แต่ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการเติบโตได้อย่างมหาศาล นายอาลก ยังชี้ให้เห็นถึงโอกาสที่มีอยู่ในอุตสาหกรรมค้าปลีก อีคอมเมิร์ซ…
นายไชย ไชยวรรณ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ประธานในพิธี พลเอกวินัย ภัททิยกุลประธานกรรมการ พลเอกพรพิพัฒน์ เบญญศรี กรรมการ นายปริญ มาลากุล ณ อยุธยา กรรมการ พร้อมคณะผู้บริหารและพนักงาน น้อมถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2567 ณ วัดธาตุทอง พระอารามหลวง โดยบริษัทฯ คณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ลูกค้า และประชาชนผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมทำบุญกฐินพระราชทาน รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2,510,859.77 บาท นำไปสมทบบูรณปฏิสังขรณ์ สำนักเรียนวัดธาตุทองและร่วมทำนุบำรุงโรงเรียนในพระอุปถัมภ์ของวัดธาตุทอง
ดร.กรินทร์ บุญเลิศวณิชย์ รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และประธาน Future Earth Thailand และ รศ.ดร.เกื้ออนันต์ เตชะโต คณะจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ Thailand’s Climate Commitment: Leveraging Innovative Blue Carbon, Carbon Capture Storage, Air Pollution Mitigation and Beyond Banking for a Greener Future นำเสนอนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย อาทิ บลูคาร์บอน การดักจับและกักเก็บคาร์บอน และกรณีศึกษาจากธนาคารพาณิชย์ในการสนับสนุนทางการเงินเพื่อการเปลี่ยนผ่านอย่างครบวงจร พร้อมแนะนำโซลูชันด้านสิ่งแวดล้อม KCLIMATE Carbon Accounting ตัวช่วยเรื่องการคำนวณคาร์บอน ที่ธนาคารกสิกรไทยริเริ่มพัฒนา เพื่อเตรียมรองรับการใช้งานของภาคธุรกิจ โดยมี ดร. วิชัย ณรงค์วณิชย์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย และประธานกรรมการบริษัท KCLIMATE 1.5 จำกัด เป็นผู้ดำเนินรายการ ในงานประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 29 หรือ COP29 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน เมื่อเร็ว ๆ นี้
นางสาวกุสุมาพร หิรัณยัษฐิติ (ลำดับที่ 5 จากซ้าย) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด เข้าร่วมแสดงความยินดีกับ ผู้บริหารและคณะกรรมการของ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ในโอกาสที่ได้รับโล่รางวัลรองชนะเลิศ ประเภทกองทุนเดี่ยว (Single Fund) ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกลุ่มหน่วยงานรัฐวิสาหกิจขนาดกองทุนมากกว่า 15,000 ล้านบาท จากกระทรวงการคลัง งานดังกล่าวจัดขึ้นโดยสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างค่านิยมด้านธรรมาภิบาลให้มีขึ้นในการบริหารกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตลอดจนสร้างมาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนในการควบคุมและตรวจสอบการจัดการลงทุนโดยบริษัทจัดการลงทุนเพื่อรักษาผลประโยชน์ให้กับสมาชิก อีกทั้งเป็นการเผยแพร่รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่ดี ตลอดจนส่งเสริมบทบาทของทุกฝ่ายผ่านกระบวนการให้ความรู้ด้านต่าง ๆ ปัจจุบัน บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) ได้รับความไว้วางใจในการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าว ระหว่างปี 2566 – 2568 ประเภทกองทุนเดี่ยว หลายนโยบาย
เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประกาศความร่วมมือต่อยอดจาก จากการเป็นพันธมิตรระดับโลก ในการสนับสนุนการเติบโตและความยั่งยืนของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) ในประเทศไทย โดยมุ่งเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจ MSME ซึ่งมีความสำคัญต่อโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ และช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้พร้อมรับมือกับความท้าทายในอนาคต ความร่วมมือครั้งนี้ ประกอบด้วยการพัฒนา MSMEs Social Protection Framework ซึ่งเป็นเครื่องมือประเมินความเสี่ยงเพื่อสร้างความพร้อม เพิ่มความตระหนักรู้ พร้อมกลยุทธ์การรับมือกับความเสี่ยงแก่ผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ยังมุ่งลดช่องว่างด้านการคุ้มครองสำหรับผู้ประกอบการด้วยโซลูชันประกันภัยที่ออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและความยั่งยืนให้กับธุรกิจ ในปี 2567 เจนเนอราลี่ และ UNDP ได้เปิดตัวรายงานวิจัยร่วมในหัวข้อ “Building MSME Resilience in Southeast Asia” ซึ่งทำการศึกษาตัวอย่างห่วงโซ่คุณค่าในประเทศไทยและมาเลเซีย รายงานฉบับนี้นำเสนอแนวทางซึ่งเป็นทางเลือกในการระบุความเสี่ยงรวมถึงความต้องการของธุรกิจ MSME การพัฒนาด้านการบริหารความเสี่ยงและบริการประกันภัย และการนำเสนอโซลูชันเหล่านี้ต่อชุมชนธุรกิจท้องถิ่น การวิจัยพบว่า ธุรกิจ MSMEs นั้นมีจำนวนมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 99.6 ของธุรกิจทั้งหมดในประเทศไทย และร้อยละ 97.4 ในประเทศมาเลเซีย โดยธุรกิจเหล่านี้มีบทบาทที่เป็นทั้งเสาหลักและแรงขับเคลื่อนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยงานวิจัยยังเน้นย้ำถึงความสำคัญในการเข้าใจความแตกต่างในลักษณะของห่วงโซ่คุณค่า รูปแบบความเสี่ยง และความคุ้มครองที่จำเป็นสำหรับกลุ่ม MSMEs เพื่อช่วยการนำเสนอทางออกด้านประกันภัยที่เหมาะสม ผลจากการวิจัยเหล่านี้จะถูกนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการบริหารความเสี่ยงและสนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของ MSMEs ในท้องถิ่น โดยโครงการนี้ มีเป้าหมายหลักสองประการ ได้แก่ การสร้างความตระหนักรู้ในหมู่ผู้ประกอบการเกี่ยวกับความสามารถในการรับมือปัญหารวมถึงการเสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ และการขยายความคุ้มครองแก่พนักงานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ภัยธรรมชาติ และสภาพภูมิอากาศ นาง อิริน่า กอร์ยูโนวา (Irina Goryunova) รองผู้แทนประจำโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “การเติบโตของ MSMEs ในไทยนั้นได้รับผลกระทบมากขึ้นจากความเสี่ยงต่อความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ และความท้าทายจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้นถูกนำไปใช้ในการพื้นฟูวิกฤตแทนที่ใช้ในการลงทุน การประกันภัยเป็นหนึ่งในเครื่องมือจัดการความเสี่ยงที่สามารถช่วยให้กลุ่ม MSMEs ฟื้นตัวจากการปัญหาทางการเงิน แต่ตลาดประกันภัยอาจยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ในประเทศไทย ด้วยตัวผลิตภัณฑ์และช่องทางการจัดจำหน่ายที่ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการหรือยังขาดแคลนอยู่ ประกอบกับการตระหนักรู้เรื่องการป้องกันความเสี่ยงที่ยังไม่มากนัก ด้วยการสร้างสรรค์โซลูชันด้านประกันภัยที่ตอบโจทย์ความเสี่ยงเฉพาะตัวของ MSMEs ควบคู่กับการบริหารความเสี่ยงอย่างรอบด้าน เพื่อให้ธุรกิจเหล่านี้สามารถเติบโตและยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทยต่อไป UNDP มีความภูมิใจที่ได้สานต่อความร่วมมือกับ Generali ในการช่วยให้ MSMEs ไทยเข้าใจและบริหารจัดการความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น มร.โรแบร์โต้ ลีโอนาดี้…
บริษัท ศรีสวัสดิ์ แคปปิตอล 1969 จำกัด (มหาชน) หรือ SCAP นำโดย วิชิต พยุหนาวีชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ร่วมกับพนักงาน SCAP และกลุ่มบริษัทในเครือ จัดกิจกรรม “ปลูกป่าลอยฟ้า” ณ เขายายเที่ยง เขื่อนลำตะคลอง ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา กิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ เพิ่มพื้นที่สีเขียว และส่งเสริมรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่ห่างไกล เขายายเที่ยงถือเป็นพื้นที่สำคัญสำหรับการกักเก็บน้ำและผลิตพลังงานไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อนลำตะคลอง อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยกิจกรรมครั้งนี้คาดว่าจะช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตพื้นที่มากกว่า 50 ไร่ พร้อมส่งเสริมระบบนิเวศให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระยะยาว กิจกรรมปลูกป่าลอยฟ้าของ SCAP และกลุ่มบริษัทในเครือ ใช้วิธีการยิงเมล็ดพันธุ์ต้นไม้ด้วยหนังยางสติ๊ก ช่วยให้เมล็ดพันธุ์ กระจายตัวสู่พื้นที่โดยรอบ โดยเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ทั้งหมดได้มาจากการเก็บและจำหน่ายโดยชุมชนในพื้นที่ ซึ่งช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้าน นอกจากนี้ยังมีการจัดซื้ออาหารและขนมที่ผลิตโดยชุมชนมาสนับสนุนในกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น วิชิต พยุหนาวีชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีสวัสดิ์ แคปปิตอล 1969 จำกัด (มหาชน) หรือ SCAP กล่าวว่า “SCAP เชื่อมั่นว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องเริ่มจากการดูแลธรรมชาติ ช่วยเหลือชุมชน และสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับพนักงาน ซึ่งกิจกรรมปลูกป่าลอยฟ้าครั้งนี้สะท้อนถึงความตั้งใจของเราที่จะเดินหน้าไปพร้อมกับหลัก ESG เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกทั้งในมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เราหวังว่ากิจกรรมนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยเสริมสร้างความยั่งยืนให้กับพื้นที่และชุมชนในระยะยาว” กิจกรรมครั้งนี้ไม่เพียงช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียว แต่ยังเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้พนักงานของ SCAP ได้มีส่วนร่วมในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อธรรมชาติและชุมชนในลักษณะที่จับต้องได้ SCAP ยังคงมุ่งมั่นผลักดันกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง และพร้อมขยายความร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อสร้างโครงการที่ยั่งยืนต่อไป
นางสาวดารบุษป์ ปภาพจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ บลจ.อีสท์สปริง เปิดเผยว่า ในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2567 ที่นักลงทุนมองหาโอกาสในการลงทุนเพื่อประหยัดภาษี กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ยังคงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการวางแผนการเงินเพื่อสร้างความมั่นคงในระยะยาว โดย บลจ.อีสท์สปริง ได้เตรียมเปิดตัวกองทุน RMF ใหม่ คือ กองทุน Eastspring Global Prime Technology RMF (ES-TECHRMF) ซึ่งจะเสนอขายครั้งแรกระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม ศกนี้ ด้วยเงินทุนโครงการ 2,000 ล้านบาท กองทุน ES-TECHRMF จะเน้นลงทุนในกองทุน Eastspring Investments – Global Technology Fund ซึ่งเป็นกองทุนหลักในหน่วยลงทุนชนิด Class C บริหารจัดการโดย Eastspring Investments (Luxembourg) Singapore ในอัตราส่วนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยมุ่งหวังที่จะเพิ่มผลตอบแทนรวมในระยะยาวให้สูงสุดผ่านการลงทุนในหุ้นและหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทั่วโลกที่มีทั้งผลิตภัณฑ์ กระบวนการ หรือบริการที่เป็นนวัตกรรม รวมถึงการจัดหาหรือใช้เทคโนโลยีที่ทำให้บริษัทเหล่านั้นมีความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ในตลาด โดยกองทุนไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล สำหรับพอร์ตการลงทุนในกองทุน ES-TECHRMF จะประกอบด้วยธุรกิจที่เป็น Trend ใหม่ในโลกแห่งอนาคต โดยกองทุนหลักจะเน้นลงทุนใน 5 ธีมหลัก ซึ่งปัจจุบันจะให้น้ำหนักในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานและอินเตอร์เน็ตที่ส่วนใหญ่กระจายอยู่ในกลุ่มอเมริกาเหนือ โดยแบ่งกลุ่มอุตสาหกรรมสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ Semiconductors 30% , Software 20% , Interactive Media & Services 17% , ค้าปลีก 7% และ อื่นๆ 6.4% และยังให้ความสำคัญกับการคัดเลือกหลักทรัพย์ราว 40 – 80 บริษัท…