ธนาคารกสิกรไทยร่วมแก้หนี้ครัวเรือนผ่านโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ภายใต้แนวคิด “ปิดหนี้ได้ไว ไปต่อได้เร็ว” เร่งลดภาระหนี้ให้ลูกค้ารายย่อยและลูกค้าธุรกิจ SME ช่วงเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว ด้วย “มาตรการจ่ายตรง คงทรัพย์” ช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อบ้าน รถ และ SME ขนาดเล็ก ลดค่างวดนาน 3 ปี พักดอกเบี้ย โดยค่างวดให้นำมาตัดเงินต้นทั้งจำนวน และ“มาตรการจ่าย-ปิด-จบ” สำหรับสินเชื่อบุคคลทุกประเภทที่เป็นหนี้ NPL เพื่อประคับประคองให้ลูกค้าสามารถผ่านวิกฤตนี้ไปได้และเริ่มต้นใหม่ได้เร็ว นายจงรัก รัตนเพียร ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ทิศทางเศรษฐกิจไทยมีสัญญาณในทางที่ดีขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่จากวิกฤตต่าง ๆ ที่ต่อเนื่องยาวนานมาหลายปีอาจทำให้ลูกค้ามีสภาพคล่องทางการเงินลดลง เห็นได้ชัดจากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งธนาคารกสิกรไทยมีความห่วงใยและพยายามให้ความช่วยเหลือมาโดยตลอด ในครั้งนี้ธนาคารมีความยินดีร่วมโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” เพื่อช่วยประคับประคองลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจจนกว่าจะผ่านพ้นสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ไปได้ ผ่าน 2 มาตรการช่วยเหลือ ดังนี้ 1. มาตรการจ่ายตรง คงทรัพย์ สำหรับลูกค้าที่ทำสัญญาสินเชื่อก่อนวันที่ 1 มกราคม 2567 และมีสถานะลูกหนี้เป็นไปตามที่กำหนด โดยลดค่างวดเป็นระยะเวลา 3 ปี ให้ชำระค่างวดขั้นต่ำ 50% 70% และ 90% ของค่างวดเดิม ในปีที่ 1 ปีที่ 2 และปีที่ 3 ตามลำดับ ซึ่งจะนำไปตัดเงินต้นทั้งจำนวน นอกจากนี้ยังให้พักชำระดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 ปี ทั้งนี้ลูกค้าที่เข้าร่วมมาตรการนี้จะไม่สามารถก่อหนี้ใหม่ในระยะเวลา 12 เดือนแรกที่เข้าร่วมมาตรการ สำหรับประเภทสินเชื่อที่ร่วมมาตรการ ได้แก่ • สินเชื่อบ้าน วงเงินไม่เกิน 5,000,000 บาท • สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ วงเงินไม่เกิน 800,000 บาท • สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี วงเงินไม่เกิน 5,000,000 บาท • สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล หากมีหนี้บ้านหรือรถที่เข้าเงื่อนไขข้างต้น สามารถพิจารณาเข้ามาตรการรวมหนี้ได้ 2.…
Author: staff
บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) โดย นายโชน โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าที่บริหาร คว้ารางวัลระดับเอเชีย Sustainability Rising Star จากเวที Asia Corporate Excellence & Sustainability Awards 2024 หรือ ACES Awards 2024 ตอกย้ำการเป็นผู้นำบริษัทประกันชีวิตที่มีการดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่ครอบคลุมทั้งในมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG) ตามหลักแนวคิดบูรณาการ GRC สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ผ่านกรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืนด้วยกลยุทธ์ Happy Ps ได้แก่ Happy Place “บ้านมีสุข” องค์กรที่ประกอบธุรกิจอย่างมีธรรมมาภิบาล ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติต่อพนักงาน คู่ค้า และพันธมิตรธุรกิจ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของบริษัทอย่างเป็นธรรม โปร่งใส ตามหลักสิทธิมนุษยชน เพื่อร่วมกันสร้างองค์กรที่เข้มแข็ง เติบโตอย่างยั่งยืน Happy Peace “ใจมีสุข” ส่งมอบความมั่นคงทางการเงินให้กับลูกค้า โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและประกันสุขภาพที่ทันสมัย ตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่ม และการสร้างความสุขสงบทางใจให้กับลูกค้า หมดห่วงต่อภาระทางการเงินที่จะเกิดขึ้น ผ่านการวางแผนทางการเงินครอบคลุมรอบด้าน Happy People “เรามีสุข” เน้นย้ำการส่งต่อความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมความรู้ทางการเงิน การศึกษาด้านสุขภาพเพื่อยกระดับชุมชน โดยบริษัทฯ มีความตั้งใจที่จะให้ความรู้ทางด้านการเงิน และการประกันชีวิต เพื่อเป็นกลไกหนึ่งของสังคมในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนทุกกลุ่ม นอกจากนี้ยังมีความมุ่งมั่นเป็นองค์กรที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า ลดการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็น เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในภาพรวม
บมจ.กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต นำโดย คุณพงศ์ธร วัธนนัย Head of Talent Acquisition & Management and Culture (คนขวา) เข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณรางวัลองค์กรที่สนับสนุนการจ้างงานคนพิการ ประจำปี 2567 “ระดับดี” เนื่องในวันคนพิการสากล ประจำปี 2567 จากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยได้รับเกียรติจาก คุณโชคชัย วิเชียรชัยยะ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (คนซ้าย) เป็นประธานในการมอบรางวัล เพื่อเชิดชูเกียรติองค์กรที่มุ่งมั่นในการสร้างโอกาสการทำงานให้แก่คนพิการอย่างต่อเนื่อง และพร้อมส่งเสริมการมีส่วนร่วมในสังคมอย่างเท่าเทียม รางวัลดังกล่าวตอกย้ำความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ที่มุ่งเน้นการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม และยอมรับความแตกต่างที่หลากหลายของพนักงานเป็นสิ่งสำคัญ ภายใต้วัฒนธรรมองค์กร Inclusive Workplace ซึ่งสอดคล้องกับคำมั่นสัญญาของ AXA’s Employer Brand Promise คือ “ปลุกศักยภาพในตัวพนักงาน มุ่งสู่ความสำเร็จ” ที่พร้อมทั้งเคียงข้างทุกความเชื่อมั่น และดูแลกันตลอดไป
กรุงเทพ, 12 ธันวาคม 2567 – ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เฉลิมฉลองครบรอบ 25 ปี กับงานกาล่าดินเนอร์ที่จัดขึ้น ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ โดยมีลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจร่วมเป็นแขกภายในงาน การเฉลิมฉลองครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ของธนาคารในการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นและส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจ ด้วยการระดมเงินบริจาคกว่า 500,000 บาท เพื่อสนับสนุนโครงการโภชนาการสำหรับเด็กด้อยโอกาสในพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศไทย ผ่านโครงการ “Food for Good” จากงานกาล่าดินเนอร์ งานเลี้ยงที่จัดขึ้นยังได้รับเกียรติจากนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และนางสาวแคเทอริน หว่อง เอกอัครราชทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทย ร่วมเป็นประธานในการเปิดงานด้วย นายวี อี เชียง รองประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารยูโอบี กล่าวเปิดงาน โดยตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยในระยะยาวว่า “ประเทศไทยเป็นตลาดที่สำคัญสำหรับกลุ่มธนาคารยูโอบี และเรายังคงมุ่งมั่นสร้างการเติบโตผ่านการสนับสนุนลูกค้าของเรา สิ่งต่างๆ ที่เราทำ อาทิ UOB TMRW ธนาคารดิจิทัล และความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย (BOI) เพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมและการลงทุน การเข้าซื้อกิจการธนาคารเพื่อรายย่อยของซิตี้กรุ๊ป เป็นการตอกย้ำเป้าหมายของเราในการยกระดับสิทธิประโยชน์และมอบคุณค่าที่เพิ่มมากขึ้นให้แก่ลูกค้า” ภายในงานเฉลิมฉลองครบรอบ 25 ปี ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ยังสนับสนุนให้แขกภายในงานร่วมบริจาคให้กับโครงการ “Food For Good” ที่อยู่ภายใต้มูลนิธิยุวพัฒน์ ซึ่งให้การสนับสนุนด้านโภชนาการแก่เด็กๆ ในโรงเรียนห่างไกล แทนการมอบดอกไม้หรือของขวัญ ซึ่งได้รับยอดบริจาครวมกว่า 500,000 บาท เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของธนาคารในการตอบแทนชุมชนและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม สามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโปรโมชันครบรอบ 25 ปี หรือเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการเพื่อชุมชนของธนาคาร ได้ที่ทุกสาขาของยูโอบี ประเทศไทย หรือบนเว็บไซต์ของธนาคารที่www.uob.co.th/uobt25
ไทยพาณิชย์ขานรับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและเอสเอ็มอี ผ่านโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” มาตรการแก้หนี้ครัวเรือนภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เดินหน้าพร้อมให้ความช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยและเอสเอ็มอี กลุ่มลูกค้าสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ และเอสเอ็มอี โดยเปิดให้ยื่นลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการผ่านช่องทางธนาคารแห่งประเทศไทย เว็บไซต์ www.bot.or.th/khunsoo ได้ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2567 – 28 กุมภาพันธ์ 2568 นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์เปิดเผยว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ให้การประคับประคองความเดือดร้อนแก่ลูกค้าทุกกลุ่มของธนาคารผ่านมาตรการช่วยเหลือที่หลากหลายและต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายให้ลูกค้ากลับมามีความสามารถในการประกอบอาชีพและดำเนินกิจการได้อย่างมีศักยภาพ อย่างไรก็ตาม จากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เรื้อรังอย่างยาวนานอันเป็นผลพวงจากโควิดและสถานการณ์เศรษฐกิจส่งผลให้ลูกค้ารายย่อยและเอสเอ็มอีบางส่วนไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ จึงเป็นผลให้ภาครัฐและภาคเอกชน โดยกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย ร่วมมือกัน ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและ SMEs เพิ่มเติม โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” โดยมุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มลูกหนี้เปราะบาง 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มลูกหนี้สินเชื่อบ้าน วงเงินรวมไม่เกิน5 ล้านบาท 2. กลุ่มลูกหนี้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ วงเงินรวมไม่เกิน 800,000 บาท และ 3.กลุ่มลูกหนี้สินเชื่อธุรกิจ (SMEs) วงเงินรวมไม่เกิน 5 ล้านบาท ซึ่งเป็นกลุ่มคนตัวเล็ก วงเงินสินเชื่อไม่สูง ในการลดค่างวดผ่อนชำระหนี้และ ภาระดอกเบี้ยหากลูกหนี้รักษาวินัยทางการเงิน ผ่อนชำระตามเงื่อนไขต่อเนื่องตลอด3 ปี เพื่อให้สามารถฟื้นตัวกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติ และสามารถรักษาที่อยู่อาศัย ยานพาหนะ สถานประกอบการไว้ได้ ลูกค้าที่ต้องการเข้าร่วมมาตรการครั้งนี้ สามารถในการลงทะเบียนโครงการได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด โดยสามารถลงทะเบียนขอเข้ามาตรการช่วยเหลือภายใต้โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ผ่านระบบของธนาคารแห่งประเทศไทย เว็บไซต์ www.bot.or.th/khunsoo ตั้งแต่วันที่ 12ธันวาคม 2567 – 28 กุมภาพันธ์ 2568 โดยธนาคารจะเริ่มติดต่อตั้งแต่ 2มกราคม 2568 เป็นต้นไป รายละเอียดข้อมูลและวิธีการลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการฯ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ ผ่านทาง Website ของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือติดต่อสอบถามที่ Call Center ธนาคารแห่งประเทศไทย หมายเลข 1213…
นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ในฐานะประธานกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวโครงการคุณสู้ เราช่วย เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย และ SMEs ซึ่งเป็นการประสานบทบาทของภาครัฐ ภาคเอกชน และลูกหนี้ในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนในกลุ่มเปราะบาง โดยมีนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานเปิดงาน นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และนายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย ร่วมแถลงข่าว โดยมีผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ และผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ร่วมด้วย ณ ห้องภัทรรวมใจ ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 สถาบันการเงินของรัฐ พร้อมให้ความร่วมมือกับภาครัฐ และ ธปท. ในการสนับสนุนโครงการคุณสู้ เราช่วย เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีโอกาสรอดให้สามารถฟื้นตัวกลับมาชำระหนี้ได้ และยังมีการออกแบบกลไกการส่งเสริมวินัยทางการเงินควบคู่กับการป้องกันไม่ให้ลูกหนี้เสียวินัยในการชำระหนี้ ผ่านมาตรการต่าง ๆ ประกอบด้วย (1) มาตรการปรับโครงสร้างหนี้-เน้นตัดต้นเงิน สำหรับกลุ่มลูกหนี้สินเชื่อบ้าน ลูกหนี้สินเชื่อรถยนต์ และ ลูกหนี้ SMEs และ (2) มาตรการลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ NPLs ที่มีภาระหนี้คงค้างไม่เกิน 5,000 บาท โดยจะมีการปรับโครงสร้างหนี้ที่ลึกมากกว่าปกติ เพื่อให้สามารถหลุดพ้นจากสถานะหนี้ NPLs และไม่เสียประวัติเครดิต นอกจากนี้ สถาบันการเงินของรัฐยังได้จัดทำมาตรการเพิ่มเติม เพื่อขยายความช่วยเหลือไปยังลูกหนี้กลุ่มเปราะบางซึ่งเป็นลูกหนี้กลุ่มที่ไม่ซ้ำกับลูกหนี้ของโครงการนี้ เช่น การแก้หนี้ให้กับลูกหนี้กลุ่มอื่น การลดดอกเบี้ย การลดเครดิตเพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ โดยใช้เงินส่วนต่างจากที่ได้รับการปรับลดการนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIF) ที่ลดลงเหลือ 0.125% เข้ามาชดเชย เป็นระยะเวลา 1 ปี ดำเนินการโดยสถาบันการเงินของรัฐ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ ธนาคารออมสินยังอยู่ระหว่างการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย ในการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ลูกหนี้ของกลุ่ม Non-bank ด้วย ทั้งนี้ คาดว่ามีลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติที่ได้รับความช่วยเหลือผ่าน 2…
เทศกาลปีใหม่ เป็นเสมือนประตูบานแรกของการเริ่มต้นที่เต็มไปด้วยความหมาย และการเฉลิมฉลองของทุกคนในครอบครัว ซึ่งการมอบของขวัญ และการเดินทางท่องเที่ยวในสถานที่สำคัญ เพื่อโอบรับสิ่งดี ๆ โดยเฉพาะการนำความเป็นสิริมงคลเข้ามาในชีวิต เป็นหนึ่งในภารกิจที่หลายครอบครัวให้ความสำคัญ พิพิธภัณฑ์ครุฑ โดยทีเอ็มบีธนชาต จึงเป็นอีกสถานที่สำคัญที่อยากให้ทุกครอบครัวได้มาสัมผัส เพราะเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกและแห่งเดียวในอาเซียน ที่รวบรวมครุฑ มากกว่า 150 องค์ อันมีเอกลักษณ์เฉพาะองค์จากทุกภาคของไทยเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งครุฑแต่ละองค์ถูกแกะสลักอย่างวิจิตรงดงาม สะท้อนถึงความประณีตของศิลปิน พร้อมได้เรียนรู้เรื่องราว ‘พญาครุฑ’ สัญลักษณ์แห่งความกตัญญู ความซื่อสัตย์ และความดีงาม โดยพื้นที่จัดแสดงถูกออกแบบอย่างทันสมัยผ่านสื่อแอนิเมชัน และมัลติมีเดียต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย 6 โซนได้แก่ 1. โถงต้อนรับ เริ่มต้นผจญภัยกับตำนานพญาครุฑ ด้วยการบอกเล่าถึงประวัติความเป็นมาของพญาครุฑ ผ่านเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง หรือ AR 2. ครุฑพิมาน เรียนรู้กำเนิดโลกและจักรวาล ท่องไปในดินแดนหิมพานต์ และที่อยู่ของพญาครุฑ 3. นครนาคราช ถิ่นที่อยู่ของพญานาค พร้อมชมเรื่องราวของพี่น้องต่างมารดา 4. อมตะเจ้าเวหา เรื่องราวความเพียรพยายามของพญาครุฑผ่านแอนิเมชัน แสงสีตระการตา 5. สุบรรณแห่งองค์ราชัน ตามรอย “ตราพระครุฑพ่าห์” ซึ่งเป็นตัวแทนของพระมหากษัตริย์ที่ยังคงปรากฎเคียงข้างพระองค์เสมอ 6. ห้องจัดแสดงครุฑ ห้องที่รวบรวมองค์พญาครุฑจากทั่วทุกภาคของประเทศไทย ผ่านตราตั้งห้างพระราชทาน และสัมผัสมนต์เสน่ห์คุณค่าเหนือกาลเวลา สำหรับผู้ที่สนใจเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์ครุฑ และสักการะองค์พญาครุฑ เพื่อความเป็นสิริมงคลรับปีใหม่ สามารถเข้าชมได้ทุกวันศุกร์-เสาร์ วันละ 3 รอบ ในเวลา 10:00 / 13:00 และ 15:00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมบริการผู้นำชม และรถตู้รับ-ส่งจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีเคหะสมุทรปราการ ถึง พิพิธภัณฑ์ครุฑ ฟรีเช่นกัน! เพียงแจ้งความประสงค์ผ่านระบบการจองล่วงหน้าที่ https://www.ttbfoundation.org/th/garudamuseum/
กล่าวกันว่า บทเรียนที่ดีที่สุดมักมาจากประสบการณ์ชีวิตมากกว่าการเรียนในห้องเรียน และด้วยหลักการนี้ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย จึงได้จัดโครงการ Better U Next Future Campครั้งที่ 3 ขึ้น ซึ่งเป็นโครงการด้านการศึกษาที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์ในการปลูกฝังทักษะชีวิตที่จำเป็นให้แก่เด็กๆ นางสาวศศิวิมล อารยวัฒนาพงษ์ Country Function Head of Human Resources ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “โครงการนี้ถือเป็นการต่อยอดจากโครงการ Better Uซึ่งเป็นหลักสูตรฝึกอบรมภายในของธนาคารที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2562 เพื่อฝึกอบรม 5 ทักษะหลักให้แก่พนักงาน ได้แก่ แนวคิดการเติบโต การแก้ปัญหา ความตระหนักรู้เรื่องดิจิทัล การออกแบบโดยมีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง และการให้ข้อมูลผ่านการเล่าเรื่อง โครงการ Better U Next Future Camp ครั้งแรกจัดขึ้นในปี 2565 โดยมุ่งเน้นให้เด็กๆ ที่เข้าร่วมโครงการเรียกรู้ทักษะหลักทั้ง 5 ผ่านกิจกรรมสนุกๆ เช่น Lego Education ส่วนครั้งที่ 2 เน้นเรื่องความรู้ทางการเงินและความฉลาดทางอารมณ์ ผ่านกิจกรรมเชิงประสบการณ์ เช่น การฝึกสมาธิและการจำลองตลาด และครั้งที่ 3 เน้นให้ความรู้และสร้างทักษะการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน มีบุตรหลานของพนักงาน ลูกค้า และเด็กจากครอบครัวที่ด้อยโอกาส อายุระหว่าง 8 ถึง 12 ปี ประมาณ 100 คนเข้าร่วม” ประโยชน์ของการสอนความยั่งยืนให้แก่เด็ก ๆ โครงการ Better U Next Future และอีกหลากหลายโครงการไม่ได้มีเป้าหมายเพียงแค่ความสนุกสนาน แต่ยังมีความสำคัญในการช่วยรับมือกับหนึ่งในปัญหาที่เร่งด่วนที่สุดในปัจจุบัน นั่นก็คือ ความยั่งยืน ประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษ และการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวอีกต่อไป การปลูกฝังแนวคิดเรื่องความยั่งยืนแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้เด็กๆ เติบโตเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อโลก ความรู้ด้านความยั่งยืนไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม แต่ยังเกี่ยวกับการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของสังคมและการพัฒนาทักษะชีวิต เช่น ความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และการบริหารจัดการทรัพยากร ตัวอย่างเช่น ในโครงการนี้ เด็กๆ…
SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต จับมือ IN-SURE อินทรประกันภัย ขนทัพผลิตภัณฑ์ทางการประกันและการเงิน ตอบโจทย์ตรงใจทุกความต้องการ เพื่อสร้างหลักประกัน ความคุ้มครอง เพิ่มความอุ่นใจในการใช้ชีวิต สามารถเลือกซื้อผ่านระบบออนไลน์ ชอปได้ทุกที่ทุกเวลา รองรับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในยุคดิจิทัล กับโครงการ Insure Mall ได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 15 มกราคม 2568 บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ SE Life และบริษัท อินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ IN-SURE เสนอขายผลิตภัณฑ์กับโครงการInsure Mall ผ่านเว็บไซต์ insuremallthailand.com ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จัดขึ้นร่วมกับภาคธุรกิจเพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงระบบประกันภัยได้สะดวก รวดเร็ว จากทุกที่ ทุกเวลา ภายใต้แนวคิด Insure Mall ครบทุกเรื่องประกันภัย จบทุกความต้องการ โดยการรวบรวมผลิตภัณฑ์ประกันภัยไว้ในช่องทางเดียว ในรูปแบบออนไลน์ที่ทันสมัย และเข้าถึงได้ง่าย สามารถซื้อประกันได้ด้วยตัวเอง ทุกที่ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง ตลอดจนเป็นแหล่งรวมความรู้พื้นฐานด้านการประกันภัยสำหรับประชาชน โดยจะเปิดให้ทำธุรกรรมหรือซื้อผลิตภัณฑ์ประกัน ได้ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2567 – 15 มกราคม 2568 ในการนี้ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต และ IN-SURE อินทรประกันภัย ได้นำผลิตภัณฑ์ทางการเงินและแผนความคุ้มครองที่คัดสรรมาให้ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ ทั้งเพื่อความคุ้มครอง เพื่อการออม เพื่อการวางแผนการเงิน และเป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับการวางแผนภาษี โดย SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต ได้นำแบบประกันด้านความคุ้มครองชีวิตและสุขภาพ รวมทั้งผลิตภัณฑ์เพื่อการออม และประกันบำนาญซึ่งผลิตภัณฑ์ไฮไลท์ที่นำมาเสนอได้แก่ ประกันออมทรัพย์ “ดี-ซูพรีม เซฟวิ่ง 10/1”ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธันวาคม 2567 จ่ายเบี้ยประกันภัยครั้งเดียว รับเงินจ่ายคืนทุกปี 2.3%*…
“อาหาร” ถือเป็นหนึ่งใน Soft power และอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพสูงในการสร้างโอกาสการเติบโตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับไทย เพราะนอกจากอาหารไทยจะมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วโลกมาอย่างยาวนานแล้ว ประเทศไทยยังมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งทั้งความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของวัตถุดิบ มาตรฐานการผลิตซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมทั้งยังมีอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่แข็งแกร่งและครบวงจรอีกด้วย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนที่ดีในการสนับสนุนและต่อยอดการขับเคลื่อนและส่งออก Soft power ด้านอาหารของไทย ทั้งนี้กลไกในการผลักดันยุทธศาสตร์ Soft power ด้านอาหาร สามารถทำได้หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมการรับประทานอาหารที่น่าสนใจและมีเอกลักษณ์ผ่านสื่อบันเทิงต่าง ๆ เช่น ละคร ซีรีส์ ภาพยนตร์ รวมทั้งการเผยแพร่ผ่านผลงานศิลปะและดนตรี หรือแม้แต่การโปรโมตการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy tourism) เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ที่เชื่อมโยงเข้ากับประเพณี วิถีวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น และกระจายรายได้สู่ชุมชน ซึ่งนอกจากจะส่งผลดีต่อผู้เล่นที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิตอาหารและเครื่องดื่มแล้ว ยังทำให้ภาคธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้รับอานิสงส์ตามไปด้วย ซึ่งกลไกการผลักดันเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งไทยดำเนินการอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน ต้องไม่ลืมว่ากุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ คือการสร้างระบบนิเวศ(Ecosystem) ที่เอื้อและสนับสนุนต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านนี้ เพื่อติดอาวุธและสร้างความได้เปรียบให้กับผู้ประกอบการไทย ที่สำคัญประกอบด้วย การพัฒนาคน ด้วยการยกระดับศักยภาพของคนไทยให้เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำเป็นแรงงานทักษะสูง รวมถึงการพัฒนาแรงงานที่มีทักษะความรู้ความสามารถเชิงสร้างสรรค์และทักษะเฉพาะทาง การจัดตั้งหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Soft power ซึ่งปัจจุบันมีTHACCA ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการอำนวยความสะดวก ประสานงานกับทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในไทย เพื่อปลดล็อกศักยภาพ แก้ปัญหาอุปสรรคด้านกฎหมาย และสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหาร การวางยุทธศาสตร์การส่งออกและการตลาด เพื่อประชาสัมพันธ์ จัดทำแผนและกระบวนการด้านการส่งออกของดีของประเทศไทยให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดปลายทาง SCB EIC มองว่า การผลักดัน Soft power ด้านอาหาร จะมีส่วนช่วยสนับสนุนภาคการผลิตและภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การส่งออกอาหารและผลิตภัณฑ์ ร้านอาหาร โรงเรียนสอนทำอาหาร ร้านของฝากและของที่ระลึก หรือแม้แต่การท่องเที่ยวเชิงอาหาร และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี ความท้าทายสำคัญ คือ การสร้างมาตรฐานและกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานที่มีความสอดคล้องและมีทิศทางเดียวกันทั้ง Ecosystem รวมถึงการทำการตลาดอย่างต่อเนื่องในระยะยาว เพื่อตอกย้ำภาพจำที่เด่นชัดกับผู้บริโภคในตลาดโลก บทวิเคราะห์โดย… https://www.scbeic.com/th/detail/product/soft-power-031224