Swiss Re เตือนระวัง Loss Creep จากภัยธรรมชาติในยุโรป
Swiss Re บริษัทประกันภัยต่อรายใหญ่ของโลกออกโรง เสนอแนะให้ภาคอุตสาหกรรมประกันภัยให้ความสำคัญกับปัญหา Loss Creep หลังเหตุการณ์ภัยทางธรรมชาติ (natural catastrophe) ในยุโรป ถือว่าเป็นปรากฏการณ์กระทบไปทั้งอุตสาหกรรม ซึ่งเป็น “ความต้องการเร่งด่วน” สำหรับการตั้งสำรองที่แม่นยำยิ่งขึ้นหลังจากเกิดเหตุการณ์ภัยทางธรรมชาติ
Swiss Re อธิบายว่าการบรรลุเป้าหมายนี้จำเป็นต้องมีการประเมินมูลค่าของสิ่งที่รับการประกันไว้ที่อัพเดทตลอดเวลา ต้องมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่รับการประกัน และต้องมีข้อมูลที่ดีเกี่ยวกับห่วงโซ่คุณค่าของการประกันภัย (Insurance Value Chain)
บทความล่าสุดที่เขียนโดย ริต้า มุลเลอร์ หัวหน้าฝ่ายเรียกร้องสินไหมทดแทน Western & Southern Europe และ บัลซ์ โกลลิมันด์ หัวหน้า Catastrophe Perils อธิบายว่าความเสียหายในอุตสาหกรรมประกันภัยเมื่อเร็วๆ นี้เห็นเค้าลางหลังจากเหตุการณ์ภัยพิบัติในยุโรป ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อชื่อเสียงของอุตสาหกรรม
ทั้งสองท่านยกตัวอย่างความเสียหายที่เกิดจากพายุหมุนที่รุนแรงและลูกเห็บตกในอิตาลีที่เกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2566 และตั้งข้อสังเกตว่าการประเมินการเสียหายของอุตสาหกรรมเริ่มต้นที่ 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ต่อมาได้ขยายเป็น 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐที่น่าตกใจ
ทั้งสองอธิบายว่า Loss Creep เป็น “ตัวอย่างที่ไม่ใช่เรื่องปกติ” ของปัญหาที่ครอบงำอุตสาหกรรมประกันภัย และเป็นประเด็นที่ “เราจำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน” เพื่อปกป้องชื่อเสียงและความสามารถในการฟื้นตัวของอุตสาหกรรม
มุลเลอร์และโกลลิมันด์ ระบุว่า “แนวโน้มของการสูญเสียที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากการประมาณการเบื้องต้น และส่งผลให้เกิดการสูญเสียที่สูงกว่าที่คาดไว้ หรือ Loss creep ถือเป็นปรากฏการณ์ทั่วทั้งอุตสาหกรรม แม้ว่าสถานการณ์ของอิตาลีเป็นตัวอย่างที่จับต้องได้ หรือแม้แต่พายุลูกเห็บที่รุนแรงไม่ใช่เป็นหายนะทางธรรมชาติเพียงอย่างเดียวของยุโรปที่ปัญหา Loss creep เกิดขึ้น”
ทั้งสองชี้ให้เห็นเหตุการณ์ภัยธรรมชาติสำคัญอื่นๆ อีกหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วยุโรปในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เช่น น้ำท่วมในเยอรมนีปี 2021 เหตุการณ์ลูกเห็บฝรั่งเศสในฤดูร้อนปี 2022 และล่าสุดคือแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในตุรกี/ซีเรียในปี 2023
บทความยังพูดถึงว่า “เมื่อพูดถึงเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วดังที่เราได้เห็นในอิตาลี Loss creep โดยพื้นฐานแล้วขึ้นอยู่กับการประเมินความสูญเสีย ค่าความเสี่ยง และผลกระทบจากเงินเฟ้อที่ต่ำเกินจริง ปัญหานี้รุนแรงขึ้นเนื่องจากความพร้อมที่ไม่เพียงพอของผู้ประเมินความเสียหาย (Loss adjuster) ผู้เชี่ยวชาญ ผู้สร้าง และการสร้างเครื่องมือ ตลอดจนการขาดแคลนบุคลากรที่รับมือกับการเคลมในช่วงเวลาที่มีความต้องการสูง และแม้ว่าอุตสาหกรรมจะรับรู้ถึงการเกิดขึ้นของ Loss creep ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ล้มเหลวในการดำเนินการกับตัวปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังปัญหาที่มีหลายประการ”
มุลเลอร์ อธิบายว่า “นี่เป็นปัญหาทั่วทั้งตลาด ในฐานะอุตสาหกรรม เราต้องปรับปรุงการประมาณค่าความเสียหายเบื้องต้นให้ดีขึ้น การเสียหายจริงหลังเหตุการณ์ การประเมินความสูญเสียต่ำเกินไปอย่างต่อเนื่องไม่เพียงแต่นำไปสู่การกำหนดราคาต่ำไปเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสูญเสียความไว้วางใจในอุตสาหกรรมอีกด้วย เนื่องจากเราคาดว่าจะเกิดเหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรงมากขึ้นในอนาคต Loss creep เชิงระบบนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้และไม่ยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมของเรา”
Loss creep หมายถึงความเสียหายที่เพิ่มขึ้นจากการประเมินความเสียหายตอนแรกที่ต่ำกว่าความเป็นจริง
ที่มา www.reinsurancene.ws