KTAM ปลื้ม ปิดกอง KTPCRED-UI ก่อนจบ IPO แตะ green shoe รวมกว่า 2,056 ล้านบาท พร้อมขยายไซส์ตอบรับดีมานด์ เปิดขายอีกครั้ง 6 – 13 มิ.ย. 67 นี้

นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้เปิดเสนอขายกองทุนที่เน้นลงทุนใน Private Creditหรือสินเชื่อที่ให้กู้โดยผู้ให้กู้ที่มิใช่ธนาคาร จำนวน 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดเคแทมU.S. Private Credit Unhedged ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (KTPCRED-UI) และกองทุนเปิดเคแทม U.S. Private Credit ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (KTPCREDH-UI) โดยเสนอขายครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 27 พ.ค. – 12 มิ.ย. 67 นั้น

โดยทั้ง 2 กองทุนนี้ นักลงทุนต่างได้ให้ความสนใจอย่างล้นหลามโดยเฉพาะกองKTPCRED-UI จึงทำให้กองทุนนี้ปิดจองซื้อในช่วง IPO ก่อนกำหนดด้วยจำนวนกว่า 2,056 ล้านบาท และเพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง จึงได้จดทะเบียนขยายขนาดกองทุนเป็น 5,000 ล้านบาท และกำหนดการเปิดรับคำสั่งซื้อหน่วยลงทุนล่วงหน้าในช่วงวันที่ 6-13 มิ.ย. 2567 ภายหลังเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกเพิ่มเติมสำหรับผู้ลงทุนประเภทผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษเท่านั้น ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำ 500,000 บาท ผ่าน บลจ.กรุงไทย และบริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชนทั้งนี้ กองทุนจะทำรายการซื้อขายหน่วยลงทุนในวันที่ 1 ก.ค. 2567 นี้

สำหรับกองทุน KTPCREDH-UI ผู้ลงทุนยังคงสามารถลงทุนได้ตามระยะเวลา IPO ที่กำหนดไว้เดิม ตั้งแต่วันนี้ -12 มิ.ย. 2567  ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำ 500,000 บาท ผ่าน บลจ.กรุงไทย และบริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) เช่นกัน

กองทุน KTPCRED-UI และ KTPCREDH-UI (ความเสี่ยงระดับ 8+) เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน โดยกองทุน KTPCRED-UI ไม่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน เหมาะกับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนได้ ส่วน KTPCREDH-UI มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน เหมาะกับนักลงทุนที่ไม่ต้องรับความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวนจากการลงทุน

โดยทั้ง 2 กองทุน เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Ares Strategic Income Offshore Access Fund (กองทุนหลัก) ในหน่วยลงทุนชนิด Class I UD เพียงกองเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยกองทุนหลักมีเป้าหมายที่จะลงทุนในกองทุน Ares Strategic Income Fund (ASIF) (กองทุนอ้างอิง) อย่างน้อย 95% ของทรัพย์สินของกองทุน ซึ่ง ASIF นับว่าเป็นผู้จัดการกองทุนที่มีประสบการณ์กว่า 20 ปี ผ่านมาทุกวัฏจักรของตลาด อีกทั้งยังมีกลยุทธ์ในการสร้างผลตอบแทนที่ปรับด้วยความเสี่ยงที่โดดเด่น (Risk-adjusted Return) โดยมุ่งเน้นการสร้างกระแสรายได้ระดับสูงและเพิ่มการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตโฟลิโอ ผ่านแพลตฟอร์มเครดิตชั้นนำของ Ares ที่เน้นการทำ Direct Lending เป็นหลัก

”หนึ่งในประเภทของ Private Credit ที่เป็นสัดส่วนหลักของทั้ง 2 กองทุนนี้ ก็คือ Direct Lending หรือที่เรียกว่าการปล่อยกู้โดยตรง ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่ที่มาขอกู้จะมีทั้งขนาดกลางไปจนถึงขนาดเล็ก โดยส่วนใหญ่จะตอบสนองตามวัตถุประสงค์เฉพาะของผู้กู้แต่ละราย ขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยก็มักจะสูงกว่าสินเชื่อธนาคารทั่วไป และคิดอัตราดอกเบี้ยแบบอัตราลอยตัว (floating rate) ดังนั้นจึงลดความเสี่ยงด้านความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจากข้อมูลในอดีต ในช่วงที่ตลาดในภาพรวมปรับฐานนั้น Private Credit ถือเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่แสดงถึงผลขาดทุนสูงสุด (Max Drawdown) ที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ (ที่มา: Ares management, ข้อมูล ณ 31 ม.ค. 2567)” นางชวินดา กล่าว

ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการได้ที่ บลจ.กรุงไทย โทร. 0-2686-6100 กด 9 หรือ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือศึกษารายละเอียดได้ที่ www.ktam.co.th

ปัจจัยความเสี่ยงของกองทุน KTPCRED-UI และ KTPCREDH-UI ที่สำคัญ: ความเสี่ยงทางตลาด ความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร ความเสี่ยงด้านการกระจุกตัวของการลงทุน ความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงเรื่องคู่สัญญาในการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน ความเสี่ยงของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของหลักทรัพย์ ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร ความเสี่ยงจากข้อจำกัดการนำเงินลงทุนกลับประเทศ และความเสี่ยงที่เกิดจากการย้ายการลงทุนไปกองทุนอื่น

คำเตือน กองทุนนี้มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุน KTPCRED-UI ไม่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / ส่วนกองทุนKTPCREDH-UI มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงโดยดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / การลงทุนในหน่วยลงทุนกองที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน มีความแตกต่างจากการลงทุนในกองทุนรวมทั่วไป แม้ว่าจะเคยมีประสบการณ์ในการลงทุนในหน่วยลงทุนอื่นมาก่อน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจถึงลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนความเสี่ยง เงื่อนไขกองทุน และควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้แนะนำการลงทุน ก่อนตัดสินใจลงทุน / กองทุนนี้ไม่ถูกจำกัดความเสี่ยงด้านการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมทั่วไป และมีการกระจุกตัวในผู้ออกตราสาร จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่รับผลขาดทุนระดับสูงได้เท่านั้น และ กองทุนมีค่าปรับกรณีขายคืนหน่วยลงทุนก่อนกำหนด (Exit Fee) สำหรับการถือครองหน่วยลงทุนต่ำกว่า 12 เดือน อยู่ที่ 2% ของมูลค่าซื้อขาย

You might also like