บีเอ็นพี พารีบาส์ รุกตลาดเวลธ์ แมเนจเม้นท์ ตั้งเป้าเป็นผู้นำการบริหารจัดการความมั่งคั่งในไทย
บีเอ็นพี พารีบาส์ รุกตลาดเวลธ์ แมเนจเม้นท์ตั้งเป้าเพิ่มจำนวน Relationship Managers และสินทรัพย์ของลูกค้าไทยภายใต้การบริหารจัดการเป็นสามเท่า ในระยะกลาง
สร้างความแตกต่างด้วยแพลตฟอร์มการบริหารความมั่งคั่งระดับโลกที่ครบถ้วน และครอบคลุม เพื่อรองรับผู้ลงทุนรายใหญ่ที่กำลังเติบโตในประเทศไทย
บีเอ็นพี พารีบาส์ เวลท์ แมเนจเม้นท์ (BNP Paribas Wealth Management) เป็น Private Bank ชั้นนำในยุโรป และเอเชีย วางแผนขยายธุรกิจ ด้วยการเปิดตัวธุรกิจการบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) อย่างเป็นทางการในประเทศไทยผ่าน บริษัทหลักทรัพย์ บีเอ็นพี พารีบาส์ (ประเทศไทย) (“BNP Paribas Securities Thailand) โดยทางบริษัทฯคาดว่าจะเพิ่มจำนวน Relationship Managers เพื่อให้บริการลูกค้าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการขึ้นเป็น 3 เท่า ภายใน 3 ปีข้างหน้า เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นในการให้บริการลูกค้าในประเทศให้ดียิ่งขึ้น
นายอาร์โนลด์ เทลิเยร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บีเอ็นพี พารีบาส์ เวลท์ แมเนจเม้นท์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวถึงความสำคัญของตลาดไทยต่อธุรกิจระดับภูมิภาคว่า ประเทศไทยที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นประเทศที่เต็มไปด้วยผู้ประกอบการที่มีพลวัต มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ในระดับภูมิภาค โดยมีการขับเคลื่อนให้เกิดการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งนำไปสู่การเร่งสร้างความมั่งคั่ง
“บีเอ็นพี พารีบาส์ ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาเป็นเวลา 45 ปี โดยปัจจุบันมีฐานลูกค้าเป็นกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ และสถาบันการเงินมากกว่า 500 แห่ง ทีมบริหารความมั่งคั่งของเรามุ่งเดินหน้าต่อยอดจากธุรกิจที่มีอยู่ และร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจเดิม คือ Corporate and Institutional Banking เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สร้างสรรค์ และเหมาะสมสำหรับแต่ละผู้ประกอบการและครอบครัว เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจที่มีความซับซ้อน และความต้องการการบริหารความมั่งคั่งที่มากขึ้น
ทีมงานของบีเอ็นพี พารีบาส์- บุคคลในภาพ เรียงจากซ้ายไปขวา 1. น.ส. ภาวรรณ อมรประยูร, Relationship Manager, บีเอ็นพี พาริบาส์ เวลท์ แมเนจเมนต์ ประจำประเทศไทย 2. นายแดเนียล ปีเตอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บีเอ็นพี พาริบาส์ เวลท์ แมเนจเมนต์ ประจำประเทศไทย 3. ประดินันท์ อัครชิโนเรศ Relationship Manager, บีเอ็นพี พาริบาส์ เวลท์ แมเนจเมนต์ ประจำประเทศไทย 4. นายวินเซนต์ เลอคอมต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบีเอ็นพี พารีบาส์ เวลท์ แมเนจเม้นท์ 5. นายอาร์โนลด์ เทลิเยร์ (Arnaud Tellier) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บีเอ็นพี พารีบาส์ เวลท์ แมเนจเม้นท์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 6. สมลักษณ์ ทินมณี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารประจำประเทศไทย 7. นายการ์ธ เบร็กแมน Head of Singapore and SEA, BNP Paribas Wealth Management
บริษัทหลักทรัพย์บีเอ็นพี พารีบาส์ (ประเทศไทย) ดำเนินธุรกิจ ที่แตกต่างจากผู้ให้บริการในประเทศรายอื่นๆ ด้วยการผสมผสานการดูแลลูกค้าในประเทศอย่างใกล้ชิด เข้ากับการจัดการบัญชีทรัพย์สินในต่างประเทศ โมเดลนี้ช่วยให้ลูกค้าชาวไทยสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มที่ได้รับรางวัลในระดับสากลของ บีเอ็นพี พารีบาส์ ในประเทศสิงคโปร์ ในขณะเดียวกันก็มั่นใจได้ว่า Relationship Manager ในประเทศไทยจะช่วยดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิด ลูกค้าในประเทศไทยสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย ได้แก่ asset management, wealth planning, advisory services, brokerage services และเข้าถึงการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภท อาทิ หุ้น ตราสารหนี้ hedge funds และ structured products
นายวินเซนต์ เลอคอมต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบีเอ็นพี พารีบาส์ เวลท์ แมเนจเม้นท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า บีเอ็นพี
พารีบาส์ เวลท์ แมเนจเม้นท์ เป็น Private Bank ชั้นนำในยูโรป และมีประสบการณ์อันยาวนานในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการและครอบครัวเจ้าของธุรกิจชั้นนำมากมายทั่วโลก การคว้าโอกาสสำคัญจากความมั่งคั่งที่เติบโตอย่างรวดเร็วของภูมิภาคเอเชียถือเป็นเป้าหมายเชิงกลยุทธ์หลักสำหรับธุรกิจการบริหารความมั่งคั่งของเรา ด้วยความเป็นกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ระดับโลก (One Bank’ approach) จุดยืนทางการเงินที่แข็งแกร่ง การบริหารจัดการที่หลากหลาย และความสามารถในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย ครอบคลุม ต่อทุกความต้องการของครอบครัวนักธุรกิจ เราจึงมีความโดดเด่นในด้านการมอบบริการที่เต็มรูปแบบให้แก่ลูกค้าในเอเชียด้วยมาตรฐานของธนาคารชั้นนำระดับโลก
จากข้อมูลของ Forbes พบว่า ความมั่งคั่งรวมของมหาเศรษฐี 50 อันดับแรกของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเกือบ 15% เป็น 173 พันล้านดอลลาร์ในปี 2566[1] แม้จะมีสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจระดับมหภาคที่ท้าทายก็ตาม อีกทั้งรายงาน Hurun Global Rich List ฉบับล่าสุดซึ่งตีพิมพ์ในเดือนมีนาคม 2566 ระบุว่าประเทศไทยเป็นเมืองหลวงของมหาเศรษฐีแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีมหาเศรษฐี 46 ราย (แต่ละรายมีทรัพย์สินอย่างน้อย 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2565 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 11 ของโลก[2] โดยความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นนี้ ช่วยผลักดันให้เกิดความต้องการในการวางแผนความมั่งคั่งที่มีความซับซ้อน การลงทุนระหว่างประเทศ และการกำกับดูแลครอบครัว (Family Governance) ที่มากขึ้น
***